ตารางธาตุ

       ตุ   ปั  จุ บั 
 ตารางธาตุที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น พัฒนามาจากตารางธาตุของเมนเดเลเอฟ ซึ่งมีการจัดเรียง คือ
      1. จัดเรียงธาตุตามแนวนอนโดยเรียงลำดับเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา
      2. ธาตุซึ่งเรียงตามลำดับเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นและเป็นแถวตามแนวนอนเรียกว่า คาบ ซึ่งมีทั้งหมด 7 คาบ ได้แก่
    คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ H และ He
    คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ Li จนถึง Ne
    คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ Na จนถึง Ar
    คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ K จนถึง Kr
    คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ Rb จนถึง Xe
    คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ Cs ถึง Rn
    คาบที่ 7 มี 29 ธาตุ(ที่ค้นพบคือ Fr จนถึง Ds และ Uuu Uub Uuq Uuh Uuo
          คาบ (Period) หมายถึง การจัดธาตุในแนวนอนของตารางธาตุ โดยที่แต่ละธาตุในคาบเดียวกันจะเรียงตามลำดับของเลขอะตอมจากซ้ายไปขวาและจากน้อยไปมาก ซึ่งมีทั้งหมด 7 คาบ ธาตุที่อยู่ในคาบเดียวกันจะมีระดับพลังงานเดียวกัน ซึ่งจะมีค่าระดับพลังงาน (ค่า n) เท่ากับคาบนั้น
      3. ธาตุในแถวตามแนวตั้ง มีทั้งหมด 18 แถว เรียกว่า หมู่ ซึ่งมีตัวเลขกำกับ แบ่งออกเป็นหมู่ย่อย A และ B โดยที่
    หมู่ย่อย A มี 8 หมู่ คือ หมู่ I A จนถึง VIII A  (หมู่ O) และในหมู่ย่อยต่างๆ ของหมู่ A ก็มีชื่อเรียกเฉพาะ โดย
หมู่ I A มีชื่อว่า โลหะอัลคาไล
หมู่ II A มีชื่อว่า โลหะอัลคาไลน์ เอิร์ธ
หมู่ VI A มีชื่อว่า คาลโคเจน
หมู่ VII A มีชื่อว่า แฮโลเจน
หมู่ VIII A มีชื่อว่า ก๊าซมีตระกูล (Noble Gas) หรือ ก๊าซเฉื่อย (Inert Gas)
    หมู่ย่อย B มี 8 หมู่ คือ หมู่ I B จนถึง VIII B แต่เรียงเริ่มจากหมู่ III B ถึงหมู่ II B ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ธาตุแทรซิชัน (Transition Elements)
          หมู่ (Group) หมายถึง การจัดธาตุในแนวตั้งของตารางธาตุ โดยธาตุในแต่ละคาบจะมี 8 หมู่ เลขหมู่ที่ธาตุนั้นอยู่จะมีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด (Valence Electron)



      4. ส่วนธาตุ 2 แถวล่าง ซึ่งแยกไว้ต่างหากนั้น เรียกว่า ธาตุแทรนซิชันชั้นใน (Inner transition elements)
   ธาตุแถวบนคือธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 58 ถึง 71 เรียกว่า กลุ่มธาตุแลนทาไนด์ (Lanthanide series) ธาตุกลุ่มนี้ควรจะอยู่ในหมู่ III B โดยจะเรียงต่อจากธาตุ La
   ส่วนแถวล่าง คือ ธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 90 ถึง 103 เรียกว่า กลุ่มธาตุแอกทิไนด์ (Actinide series) ธาตุกลุ่มนี้ควรอยู่ในหมู่ III B โดยเรียงต่อจากธาตุ Ac
      5. ธาตุไฮโดรเจนมีสมบัติบางอย่างคล้ายธาตุหมู่ 1 และมีสมบัติบางอย่างคล้ายธาตุหมู่ 7 จึงแยกไว้ต่างหาก
      6. ธาตุที่เป็นโลหะและอโลหะถูกแยกออกจากกันด้วยเส้นหนักขั้นบันได โดยทางซ้ายของเส้นบันไดเป็นโลหะ ทางขวาของเส้นขั้นบันไดเป็นอโลหะ ส่วนธาตุที่อยู่ชิดเส้นบันไดจะมีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับอโลหะ เรียกธาตุพวกนี้ว่า ธาตุกึ่งโลหะ (Metalloid) ได้แก่ โบรอน (B) ซิลิคอน (Si) เจอร์เมเนียม (Ge) อาร์เซนิกหรือสารหนู (As) แอนติโมนีหรือพลวง (Sb)และเทลลูเรียม (Te)

ลั     สำ คั       ตุ       มู่  ดี   กั 
ธาตุซึ่งอยู่ภายในหมู่เดียวกันมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
      1. ธาตุที่อยู่ในหมู่เดียวกันมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน  จึงทำให้มีสมบัติคล้ายกัน  เช่น ธาตุลิเทียม (3Li มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,1) และธาตุโซเดียม (11Na มีการจัดอิเล็กตรอนเป็น 2,8,1) ต่างก็มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1  ทั้งสองธาตุจึงมีคุณสมบัติคล้ายกัน  เป็นต้น
      2. ธาตุในหมู่ย่อย A (I A - VIII A) ยกเว้นธาตุแทรนซิชัน มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับเลขที่ของหมู่ เช่น ธาตุในหมู่ I จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1 ธาตุในหมู่ II จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เป็นต้น
      3. ธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ยกเว้นบางธาตุ เช่น Cr Cu เป็นต้น มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1
      4. ธาตุในหมู่เดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานไม่เท่ากัน โดยมีระดับพลังงานเพิ่มขึ้นจากบนลงล่าง เช่น 3Li 11Na 19K37Rb 55Cs เป็นธาตุที่อยู่ในหมู่ที่ 1 จากบนลงล่าง  มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากับ 2 3 4 5 และ 6 ตามลำดับ
      5. ธาตุในหมู่เดียวกันจากบนลงล่าง  (จากคาบที่ 1 ถึงคาบที่ 7) จำนวนอิเล็กตรอนหรือจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมจะเพิ่มขึ้นดังนี้ 2, 8, 8, 18, 18, 32 ตามลำดับ เช่น ธาตุ หมู่ 1 H(Z=1)  Li(Z=3)  Na(Z=11)  K(Z=19)  Rb(Z=37)  Cs(Z=55)  Fr(Z=87)

ลั     สำ คั       ตุ          ดี   กั 
  ธาตุซึ่งอยู่ภายในคาบเดียวกันมีลักษณะสำคัญ  ดังนี้
      1. ธาตุในคาบเดียวกันมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนไม่เท่ากัน  โดยมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้นจากซ้ายไปขวา  ดังนั้น ธาตุในคาบเดียวกันจึงมีสมบัติต่างกัน  ยกเว้นธาตุแทรนซิชันซึ่งส่วนใหญ่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 เท่ากัน  จึงมีคุณสมบัติคล้ายกันทั้งในหมู่และในคาบเดียวกัน
      2. ธาตุในคาบเดียวกันมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน  และเท่ากับเลขที่ของคาบ เช่น ธาตุในคาบที่ 2 ทุกธาตุ (Li ถึง Ne)ต่างก็มีจำนวนระดับพลังงานเท่ากับ 2 คือชั้น K (n=1) และชั้น L (n=2) เป็นต้น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น